การใช้สารสกัดจากพืชเพื่อควบคุมแมลงวันผลไม้

 

Home แมลงวัน Biological Control สารสกัด อ้างอิง Contact me

 

สารสกัด

แมงลักคา
ดาวเรือง
สะเดา
น้อยหน่า
 

น้อยหน่า
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona Squamosa linn
 

วงศ์ ANNONA : CEAE
 
ชื่อท้องถิ่น : น้อยแน่ (ภาคใต้) มะนอแน่ มะแน่ ( ภาคเหนือ) มะออจ้า
มะโอล่า (เงี้ยว-ภาคหนือ) ลาหนัง (ปัตตานี) หน่อเกล๊าะแซ
(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) บักเขียบ (ภาคอีสาน)
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กแตกกิ่ง ก้านสาขาออกเป็นก้านเล็ก ๆ ไม่ใหญ่โตมากนัก ผิวเกลี้ยง สีเทาอมน้ำตาล ลำต้นสูงประมาณ 8 เมตร
- ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ใบเป็นรูปรี ปลายและ โคนใบ แหลม ใบกว้าง ประมาณ 1-2.5 นิ้ว ยาว 3-6 นิ้ว สีเขียว ก้านใบยาว 0.5 นิ้ว
- ดอก ออกดอกเดี่ยว ๆ อยู่ตรามงามใบ ลักษณะดอกจะห้อยลง มีอยู่ 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ชั้นในกลีบดอกจะสั้นกว่าชั้นนอก มีสีเหลือง อมเขียว กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ เกสรกลางดอกจะมีจำนวนมาก
- ผล ออกเป็นลูกกลม ๆ ป้อม ๆ โตประมาณ 3-4 นิ้ว มีผิวขรุขระเป็นช่องกลมนูนในแต่ละช่องนั้น
ภายในมีเนื้อสีขาว และมีเมล็กสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม เนื้อในทานได้มีรสหวาน เปลือกผลสีเขียว ถ้าสุก
ตรงขอบช่องนูนนั้นจะออกสีขาว เปลือกผลสีเขียว บีบดูจะนุ่ม
 
การขยายพันธุ์ : เมล็ด
 
ฤดูกาลเก็บส่วนที่ขยายพันธุ์ : ช่วงฤดูฝน
 
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต : เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด
 
การใช้ประโยชน์
1. ทางอาหาร ยอดอ่อน หั่นฝอย ใช้ผัดหรือใส่แกง
2. ทางยา ผลนำมาใช้ 2 อย่าง คือ
- ผลดิบจะเป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในคอ กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง
- ผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู
- เมล็ด ฆ่าพยาธิตัวจี๊ด ฆ่าเหา และแก้บวม
- ราก เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา
- ใบ ขับพยาธิลำไส้ ฆ่าเหา แก้กลากเกลื้อน
- เปลือกต้น เป็นยาสมานลำไส้ สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้รำมะนาด แก้พิษงู
 
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ : ช่วงฤดูฝน
 
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
 
ในใบและเมล็ดน้อยหน่ามีสารเคมีชื่อ Anonanine ส่วนในเมล็ดมีน้ำมันอยู่ประมาณ 45 % ประกอบด้วย Organic acid หลายชนิด Resin Steroids Alkaloid และอื่น ๆ ส่วนที่เป็นเมล็ด
ในสารอัลคาลอย ชื่อ Anonaine มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ฆ่าเพลี้ยจักจั่น มวนเขียว แมลงวัน ตั๊กแตน มอดแป้ง แมลงวันทอง และ เหา
จากการศึกษาวิจัยใบและเมล็ดน้อยหน่ามีสรรพคุณในการฆ่าเหา ในปี พ.ศ. 2523
อรนุช บัวพัฒนกูล และคณะ ได้ศึกษาโดยนำน้ำยาที่คั่นได้จากเมล็ดน้อยหน่าบดคั่นกับน้ำมันมะพร้าว ในอัตราส่วน 1:2 และ 1:4 ใบน้อยหน่าคั่นกับน้ำมันมะพร้าวในอัตราส่วน 1:2 ใด้ผลดีที่สุด สามารถ
ฆ่าเหาได้ถึง 98 % ในเวลา 2 ชั่วโมง แต่ต้องระวังไม่ให้เข้าตาจะเกิดอาการอักเสบ ขณะนี้โรงพยาบาล
ชุมชนหลายแห่งรณรงค์ฆ่าเหาในเด็กนักเรียน โดยใช้เมล็ดและใบน้อยหน่าได้ผลดีมาก และ
ประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นพืชสมุนไพรที่สมควรใช้งานสาธารณสุขมูลฐานเป็นอย่างยิ่ง