What is Mushroom ? 

Home

Benefit

Mushroom's menu

Toxicity mushroom

Mushroom's hot news!

Mushroom's website

Contact us

  

                 เห็ด (mushroom)  เป็นกลุ่มของเชื้อราที่มีขนาดใหญ่ (macrofungi) ซึ่งในระยะหนึ่งของการเจริญของเชื้อรานี้จะสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น ดอกเห็ด หรือ fruiting body ที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โครงสร้างขนาดใหญ่นี้มีขนาดแตกต่างกันตามชนิดและสายพันธุ์ จึงสามารถใช้ลักษณะดังกล่าวประกอบการจัดจำแนกชนิดของเห็ดราได้  เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีหลายเซลล์ (Eukaryote) เดิมเคยจัดอยู่อาณาจักรเดียวกับพืช แต่ปัจจุบันเป็น จัดอยู่ใน Kingdom  Fungi ใน Phylum Basidiomycota  เส้นใย จะเป็น septate hypha มีการสืบพันธุ์ แบบอาศัยเพศโดยการสร้างสปอร์แบบ basidiospore บน basidium เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตในกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่มีคลอโรฟิลด์ มีการเจริญเป็นเส้นใยและสร้างสปอร์เพื่อการสืบพันธุ์ ราชอบเจริญบนซากพืชและสัตว์ ชอบอินทรียวัตถุสูง เป็นพวกที่ต้องการออกซิเจนมาก และอุณหภูมิปานกลาง ซึ่งโดยปกติจะประมาณ 25-40 องซาเซลเซียส และเจริญได้ดีในที่ที่มีความชื้นในดินสูงแต่ไม่ใช่บริเวณที่มีน้ำขัง

 

 

 

รูปแสดงการเจริญของเห็ด

 

 

     เห็ดมีทั้งประโยชน์และโทษต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ในธรรมชาติเชื้อรามีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายอินทรียวัตถุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการย่อยสลายซากพืช ซึ่งมีเซลลูโลส (cellulose) เป็นองค์ประกอบที่ย่อยสลายยาก ทำให้เกิดวงจรธาตุอาหารที่สมบูรณ์และเส้นใยของราที่แผ่ไปตามซากพืชและอนุภาพของดินทำให้เกิดการยึดเหนี่ยวของอนุภาคของดินเป็นโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการเจริญของรากพืช นอกจากนี้เส้นใยของราก็เป็นอินทรีย์สารที่มีธาตุอาหารสมบูรณ์เมื่อเซลล์ตายก็จะเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน กลายเป็นธาตุอาหารที่ดีสำหรับพืช และเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน

      เห็ดชนิดที่จัดอยู่ในกลุ่ม mycorrhizal fungi มีประโยชน์ต่อพืชโดยอยู่ร่วมกับรากพืชในสภาพที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (symbiosis) ราในกลุ่มนี้มีเส้นใยส่วนหนึ่งอยู่ในรากหรือแผ่อยู่รอบรากพืชและอีกส่วนหนึ่งของเส้นใยที่อยู่ในดินจะทำหน้าที่เหมือนรากพืช คือช่วยดูดธาตุอาหารของพืชในดินอย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่ารากพืชปกติ เนื่องจากเส้นใยที่มีขนาดเล็กสามารถชอนไชไปในอนุภาคของดินจะช่วยดูดซับอาหารที่เคลื่อนที่ยาก เช่น ฟอสฟอรัส ให้แก่พืชอย่างเพียงพอ และยังทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื่นแก่รากพืชได้ระดับหนึ่ง จึงทำให้พืชที่มี mycorrhizal fungi อาศัยอยู่ ทนแล้งได้ในธรรมชาติสามารถพบเห็ดราพวกนี้สร้างดอกเห็ดอยู่ใต้ต้นไม้ที่รานั้นอยู่ร่วมด้วย        

 

                        โครงสร้างของดอกเห็ด ประกอบด้วย

                                  Cap หรือ หมวกเห็ด

                                  Gills หรือ ริ้วที่อยู่ใต้หมวกเห็ด (เห็ดบางชนิดไม่มี gills แต่จะมี pores)

                                            Stalk หรือ ส่วนของก้าน

                ในเห็ดบางชนิดเราจะพบส่วนของ

                                            Volva  เป็นส่วนที่หุ้มตรงโคนต้น

                                            Ring จะอยู่บริเวณของ stalk

                                            Scale จะเป็นสะเก็ดอยู่บริเวณหมวกดอกของเห็ด

ถ้าพบ ring และ scale ส่วนใหญ่จะเป็นเห็ดพิษ

 

รูปแสดงโครงสร้างของเห็ด

 

 

 

                   เห็ดนอกจากจะเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญแล้ว ยังมีความสำคัญด้านแหล่งที่มีสารประกอบหลายชนิดที่ใช้เป็นยารักษาโรค เช่น ยาต้านไวรัส (anti-viral agent) ยารักษามะเร็ง (anti-cancer agent) ยาเพิ่มภูมิคุ้มกัน (immunopotentiating agent) ยาลดปริมาณโคเลสเตอรอลในหลอดเลือด (hypocholesterolaemic agent) และยาบำรุงตับ (hepatoprotective agent) สารที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ เรียกว่า สารสกัดจากเห็ดเพื่อสุขภาพ (mushroom nutriceutical) ซึ่งอาจเป็นสารประกอบที่สกัดได้จากเส้นใยเห็ด (mycelium) หรือ ดอกเห็ด (fruiting body) ที่มีคุณสมบัติทางยาและโภชนาการ 

                   เห็ดหลายชนิดยังเป็นสาเหตุของโรคพืช เช่น เชื้อราในวงศ์ xylariaceae บางชนิดได้แก่ Rosellinia sp. ที่สามารถย่อยเซลลูโลสและลิกนินซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างของเซลล์พืชได้ดีและเป็นเชื้อสาเหตุสำคัญของโรคเน่าของพืชในเขตร้อน และหลายชนิดเป็นเห็ดที่มีพิษต่อมนุษย์เมื่อบริโภค ซึ่งเห็ดบางชนิดมีพิษร้ายแรงถึงตาย เช่น Amanita verna และ Amanita virosa ที่พบและเรียกชื่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยว่า เห็ดระโงกหิน ซึ่งดอกเห็ดมีสารพิษที่มีผลทำลายเซลล์ตับและทำให้ผู้บริโภคมีอาการปวดท้องและอาเจียน แต่เห็ดบางชนิดมีพิษเพียงทำให้เกิดอาการมึนเมาและอาเจียน เช่น เห็ดบางชนิดในสกุล Lepiota และเห็ดบางชนิดทำให้เกิดอาการประสาทหลอนถ้าบริโภคเพียงเล็กน้อย เช่น plilocybe cubensis ที่มักเจริญพบตามทุ่งหญ้า บนมูลสัตว์ ที่เรียกว่า เห็ดเมาหรือเห็ดขี้วัวขี้ควาย เป็นต้น