To Flora of SUT
To Flora of SUT

FLORA of SUT
พรรณไม้ มทส
E-Mail Comments

โครงการวิจัยพรรณไม้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

1. ชื่อโครงการ
พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
Flora of Suranaree University of Technology Campus
2. หน่วยงานที่รับผิดชอบงานวิจัย
สาขาวิชาชีววิทยา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ (044) 224187 โทรสาร (044) 224185
3. คณะผู้วิจัยและสัดส่วนที่ทำงานวิจัย
3.1 รองศาสตราจารย์ ดร.อรรณพ วราอัศวปติ หัวหน้าโครงการวิจัย
Assoc. Prof. Dr.Onnop Wara-Aswapati รับผิดชอบ 30%
3.2 รองศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ ธรรมถาวร ผู้วิจัยหลัก
Assoc. Prof. Dr.Sompong Thammathaworn รับผิดชอบ 35%
3.3 ดร.พอล เจ โกรดิ ผู้วิจัยหลัก
Dr.Paul J. Grote รับผิดชอบ 35%
4. โครงการนี้อาจถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการใหญ่
คือ โครงการพรรณไม้ในประเทศไทย (Flora of Thailand) ของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แม้ว่าจะไม่ได้ทำงานร่วมกันโดยตรง
5. โครงการนี้เป็นงานวิจัยที่ทำโดยหน่วยงานเดียว
แต่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก หอพรรณไม้ของกรมป่าไม้
6. ประเภทของงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน (Basic research)
7. สาขาวิชาที่ทำการวิจัย : เกษตรศาสตร์และชีววิทยา
8. คำสำคัญของเรื่องที่ทำการวิจัย (Keywords)
พรรณไม้ (flora) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (Suranaree University of Technology) พืชมี ดอก (flowering plants) พฤกษศาสตร์ (botany) ความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity)
9. ความสำคัญ ที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย และ การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง (literature survey)
ประเทศในเขตร้อน เช่น ประเทศไทย ความหลากหลายทางชีวภาพมีสูงมาก รวมทั้งพืชพรรณไม้ ที่มี เนื้อเยื่อลำเลียง ซึ่งมีความใกล้ชิดกับมนุษย์มากเป็นพิเศษ นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าของประเทศไทย แต่ การศึกษาวิจัยค้นคว้าหาผลประโยชน์จากทรัพยากรพรรณไม้เหล่านี้ ยังคงมีน้อยจากการตรวจสอบ พรรณไม้จาก หนังสือ Flora of Thailand ที่ได้พิมพ์เผยแพร่ออกมานั้น ปรากฏว่ายังไม่สมบูรณ์อีกมาก มีการคาดคะเนว่า พรรณพฤกษชาติของประเทศไทยเรานั้นมีทั้งหมดประมาณ 15,000 ชนิด แต่ได้ทำการ ศึกษาไปแล้วเพียงประมาณ 3,000 ชนิดเท่านั้น คิดเป็นเปอร์เซนต์แล้วได้ศึกษาไปเพียง 20% ฉนั้น จึงยังเหลือ พรรณพฤกษชาติที่ยังไม่ได้ศึกษาถึง 80% เมื่อการศึกษาพืชพรรณไม้ยังไม่สมบูรณ์เช่นนี้ ก็จะยังไม่สามารถแก้ ปัญหาต่าง ๆ ของประเทศไทยอีกหลายประการได้เช่น จะยังไม่ทราบถึงศักยภาพของพืชสมุนไพร พืชเศรษฐกิจ แก้ไขรวมถึงการใช้ประโยชน์ของพืชทางด้านนิเวศวิทยา ทางเคมี สรีรวิทยา ป่าไม้ และการเกษตร การที่จะเข้าไป อนุรักษืหรือสงวนก็จะชงักและเกิดปัญหา เนื่องจากยังขาดความรู้พื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบระดับ ชนิดของพืชนั้น ๆ
การศึกษาพรรณไม้ในประเทศไทย ขณะนี้เป็นไป 2 แบบ ด้วยกันคือ
1. เป็นการศึกษาตามตระกูลของพืช ครอบคลุมทุก ๆ พื้นที่ของประเทศไทยซึ่งผลการศึกษาได้พิมพ์เผย แพร่ใน Flora of Thailand volume 1-6 (1963 - 1996)
2. เป็นการศึกษาพรรณไม้ทุกชนิดในพื้นที่ที่กำหนด เช่น การศึกษาพรรณไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติ (Maxwell ,1988 , 1989) พรรณไม้อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท (Thammathaworn and Chantaranothai, 1996) พรรณไม้วิทยาเขตศาลยา มหาวิทยาลัยมหิดล (Grote ,1996) และ พรรณไม้ในอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม (Suddee ,1996)เป็นต้น
วิธีการศึกษาพรรณไม้ตามโครงการนี้จะทำตามแบบที่ 2 คือ กำหนดพื้นที่เพื่อศึกษาพรรณไม้นั้น โดย ศึกษาพรรณไม้ที่มีอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 7,000 ไร่พื้นที่นี้เป็น ป่ารกร้างที่ถูกทำลายไป จากการสำรวจเบื้องต้นก็พบว่า ยังมีต้นไม้ขนาดเล็กหลงเหลืออยู่และจะเจริญเป็นป่าต่อ ไปหากไม่ถูกรบกวน และทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ก็มีนโยบายที่จะพัฒนาส่วนที่เป็นป่านี้ บางส่วนให้ คงสภาพตามธรรมชาติในโครงการเขียวสะอาดและโครงการสวนพฤกษศาสตร์
10. วัตถุประสงค์ของโครงการ
10.1 เพื่อเก็บตัวอย่างพรรณไม้ในเขตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมาตรวจวินิจฉัยหาชื่อ จัดทำและจัด เก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง (Herbarium) ไว้ใช้อ้างอิงต่อไป
10.2 จัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้ ในเขตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ สามารถแลกเปลี่ยนและสืบค้นได้ผ่าน Internet
10.3 จัดทำรายงานประกอบภาพพรรณไม้ในเขตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ทั้งหมดที่เก็บตัวอย่างได้
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
11.1 ทราบชื่อพรรณไม้ และมีตัวอย่างพรรณไม้แห้ง ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีที่สามารถใช้ อ้าง อิง และใช้ประกอบการศึกษาวิจัยต่อไป
11.2 มีฐานข้อมูลพรรณไม้ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่สามารถแลกเปลี่ยนและสืบค้นได้โดยใช้ ระบบคอมพิวเตอร์
11.3 มีรายงานประกอบภาพพรรณไม้ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่สามารถจะใช้ประกอบการ จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ต่อไปได้
11.4 ตัวอย่างพรรณไม้และข้อมูลที่ได้ จะเป็นข้อมูลแสดงความหลากหลายทางชีวภาพ ของพรรณพืชของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และเป็นส่วนประกอบของข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ของประเทศไทย ซึ่งจำเป็นต่อการวางแผนเพื่อการบริหาร และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี และของประเทศได้อย่างเหมาะสมต่อไป
อีกทั้งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้สามารถศึกษาการเปลี่ยนแปลงชนิดของพรรณไม้ต่าง ๆ ใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีต่อไปในอนาคตได้
12. หน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
12.1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- สาขาวิชาชีววิทยา และสาขาวิชาเคมี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
- สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และ เทคโนธานี
- โครงการเขียวสะอาด และโครงการสวนพฤกษศาสตร์
12.2 กองประสานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
(โครงการการจัดการข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ)
12.3 หอพรรณไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
13. การวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ คล้ายคลึงกับงานวิจัยที่ทำ (related work and similar studies)
ดังได้กล่าวไว้ในตอนต้นแล้วว่า โครงการวิจัยนี้อาจจะถือได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของโครง การพรรณไม้ในประเทศไทย (Flora of Thailand) ของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดูข้อ. 4) ซึ่งเริ่มตี พิมพ์ผลงานวิจัยมาตั้งแต่ปี 1963 จนถึงเล่มล่าสุด เมื่อปี 1996 นี้ (Larsen and Hu, 1996) เป็นเวลามากกว่า 30 ปี แต่ สามารถศึกษาพรรณไม้ได้ราว 20% ของที่คาดว่ามีอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น จากการประชุมเพื่อสรุปความก้าว หน้าของโครงการเมื่อเดือนกันยายน 2539 ที่จังหวัดภูเก็ต คณะทำงานโครงการนี้คาดว่า อาจจะต้องใช้เวลาอีกราว 30 ปี งานวิจัยและตีพิมพ์หนังสือ Flora of Thailand จึงจะเสร็จ การที่ต้องใช้เวลานานมากเช่นนี้ ไม่ได้เกิดขึ้น เฉพาะสำหรับประเทศไทยเท่านั้น การศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำ Flora of Malesiana ก็ทำได้เพียง 20% ของจำนวนพืช ประมาณ 25,000 ชนิด โดยใช้เวลาถึง 40 ปี (Wirawan, 1989) นั่นก็คือ จะต้องใช้เวลาอีก 160 ปีจึงจะเสร็จ เช่นเดียว กันกับการทำ Flora of Vereruz ใช้เวลาถึง 20 ปี สามารถตีพิมพ์ได้เพียง 62 สกุล จาก 243 สกุล ที่ทราบว่ามีอยู่ใน รัฐนี้ หรือราว 25% นั่นก็แปลว่าจะเสร็จในอีก 60 ปีข้างหน้า ถ้างานยังคงก้าวหน้าต่อไปในลักษณะเดิม Gomez- Pompa and Plummer (1993) ได้เสนอแนวทาง การเร่งรัดความก้าวหน้าโดยการทำระบบฐานข้อมูลด้วย คอมพิวเตอร์ และการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั่วโลก ซึ่งเป็นแนวทางที่โครงการ วิจัยนี้ตั้งใจจะทำ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และจัดให้อยู่ในรูปที่จะเผยแพร่แลกเปลี่ยน ได้ในระบบ Internet
โครงการวิจัยนี้ได้มีการสำรวจเบื้องต้นมาพอสมควรแล้ว (Thammathaworn, Wara-aswapati and Grote, 1996) และเป็นแนวการศึกษาวิจัยในรูปแบบเดียวกับอีกหลายโครงการในลักษณะเดียวกันทั้งที่ทำเสร็จไปแล้ว (Maxwell,1988,1989; Sawyer and Chermsirivathana, 1969; Plengklai and Niyomdham, 1991) และกำลังดำเนิน การอยู่ (Thammathaworn and Chantaranothai, 1996; LaFrankie and Bunyavejechewin, 1996; Grote, 1996; Suddee and Na Songkhla, 1996) ซึ่งจะมีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือสนับสนุนในการทำวิจัยกันต่อไป เพื่อให้ ได้ประโยชน์สูงสุดจากการศึกษาวิจัยนี้
14. เอกสารอ้างอิง (Reference)
1. Gomez-Pompa A. and Plummer O. E (1993) A view of the future for floristic research : In Designs for a Glohal Plant Species Information System, edited by F.A. Bisby, Russel G.F. and Pankhurst R.J. , pp. 83-93. Oxford University Press. Oxford.
2. Grote J. P. (1996) Flora of Salaya campus of Mahidol University, Flora of Thailand meeting, Phuket, Thailand. p.26
3. LaFrankie J. V. and Bung\yavejechewin S. (1996). The Huai Kha Khaeng 50-ha permanent sample spot, Flora of Thailand meeting, Phuket, Thailand. p. 21
4. Larsen K. and Hu C. (1996) Myrsinaceae, Flora of Thailand , volume 6 part 2 p. 81-178 The foxst herbarium, Royal Forest Department , Bangkok.
5. Maxwell J. F. (1988) The regetation of Doi Sutep-Rei National Park, chiang Mai Prorince, Thailand, Tigerpaper 15 : 6-14.
6. Maxwell J. F. (1989) Botanical notes on the vascular flora of Chiang Mai Province, Thailand, Nat.Hist.Bull. Siam Soc. 37(2) : 177 -185
7. Meyer K. (1996) Distribution and Biogeography of Thai Melastomataceae, Flora of Thailand meeting, Pluket, Thailand , p.7
8. Pooma R. (1996) Burseraceae in Thailand, Flora of Thailand meeting , Phuket, Thailand. p. 32
9. Phengklai C. (1995) studies in thai Flora : Sterculiaceae in Thailand, Thai Forest Bull. (Bot) 23: 62-108
10. Plengklai C. and Niyomdham C. (1991) Flora in Peat Swamp Forest of Narathiwat, Sombun Press, Bangkok. 368 pp.
11. Sawyer J. O. and Chermsirivathana C. (1969) A flora of Doi Suthep, Doi Pui, Chiang Mai, North Thailand, Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 23:99-132
12. Suddee S. and Na Songkhla B (1996) Flowering plants of the Pa-Hin-Ngam Forest Park. Chaiyaphum Province: Dicotyledons, Flora of Thailand meeting, Phuket, Thailand. p. 35
13. Thammathaworn A. and Chantaranothai P. (1996) Flora of Phu Phra Bat Historical Park, Flora of Thailand meeting. Phuket, Thailand. p. 15
14. Thammathaworn S., Wara-aswapati O. and Grote P.J. (1996) survey of plants of the Suranaree University of Technology campus, Flora of Thailand meeting, Phuket, Thailand. p.33
15. Wirawan N. (1989) The Flora Malesiana symposium and workshop, Leiden. Wallaceana, 57 (September) 8-9.
15. ระเบียบวิธีวิจัย
15.1 การเก็บตัวอย่าง การเตรียมตัวอย่างพรรณไม้แห้งและการเก็บรักษา
จะออกสำรวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้อย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อให้ได้ตัวอย่าง พรรณไม้ในระยะที่มีดอกและผลให้มากที่สุด ในการเก็บตัวอย่างพืชแต่ละชนิดจะเก็บอย่างน้อย 3 ตัวอย่าง เพื่อนำ มาทำตัวอย่างแห้ง (Herbarium) และเก็บรักษาไว้อ้างอิงที่ห้องเก็บพรรณไม้ ( Herbarium Room ) สาขาวิชาชีว วิทยา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ต่อไป
15.2 การตรวจวินิจฉัยหาชื่อพรรณไม้
ตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บมาจะนำมาตรวจวินิจฉัยหาชื่อให้ได้มากที่สุด โดยใช้การเปรียบเทียบกับ หนังสือพรรณไม้ต่าง ๆ ที่มีการตีพิมพ์แล้ว เช่น Flora of Thailand , Flora of Java, Flora Malesiana และอื่น ๆ การตรวจวินิจฉัยบางตัวอย่าง อาจมีความจำเป็นต้องนำไปเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่หอพรรณไม้ของกรมป่าไม้ หรือของมหาวิทยาลัยอื่นในประเทศไทย เนื่องจากตัวอย่างพรรณไม้จำนวนหนึ่งยังไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ ถ้าบาง ตัวอย่างยังคงไม่สามารถตรวจวินิจฉัยได้อาจจะมีความจำเป็นต้องส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ เช่นที่ สวน พฤกษศาสตร์คิว (Kew Botanic Garden) ประเทศอังกฤษ เพื่อให้ช่วยตรวจวินิจฉัยชื่อ มีความเป็นไปได้ว่าตัวอย่าง พรรณไม้ที่พบในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี บางตัวอย่าง อาจจะเป็นตัวอย่างที่ไม่เคยมีรายงานในประเทศไทย มาก่อน (new records) หรือแม้แต่เป็นชนิดใหม่ของโลก (new species)
15.3 การจัดเก็บข้อมูลและทำฐานข้อมูล
ข้อมูลต่าง ๆ จะเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรม MS Excel และ MS Accessในเบื้องต้น เมื่อ ข้อมูลมีมากขึ้นอาจจะมีการย้ายโอนไปอยู่ในระบบของ Ingress หรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสมต่อไป
ข้อมูลภาพจากตัวอย่างสดจะเก็บไว้ในรูปของภาพสีหรือสไลด์สี และภาพวิดีทัศน์ โดยบางส่วนจะถ่ายโอนไปเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์
การเขียนคำบรรยายลักษณะของพืชแต่ละชนิด ( Descriptions of the species ) จะยึดหลักการ และ รูป แบบตามที่ใช้ใน พรรณไม้ประเทศไทย ( Flora of Thailand )
ข้อมูลที่จำเป็นต่อการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่จะจัดทำเป็น homepage เข้าสู่ระบบ Internet ผ่าน SUT net
15.4 การจัดแบ่งงานในโครงการ
ในปีที่ 1 ของการศึกษา ได้ใช้วิธีแบ่งงานการเก็บตัวอย่างพืช ตรวจวินิจฉัยหาชื่อ และ บรรยาย ลักษณะ ( Descriptions ) ของตัวอย่างพืช ระหว่าง ดร. สมพงษ์ และ Dr. Paul ตามกลุ่มของพืช โดย Dr. Paul รับผิดชอบในการศึกษา พืชกลุ่มใบเลี้ยงเดี่ยวทั้งหมด ( All Monocotyledon Plants ) และ พืชกลุ่มใบเลี้ยง คู่ ( Dicotyledons Plants ) จำนวน 6 วงศ์ ( families ) ได่แก่ Leguminoceae, Celastraceae, Rhamnaceae, Asteraceae, Euphorbiaceae และ Polygalaceae ดร. สมพงษ์ รับผิดชอบในการศึกษา กลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่ทั้งหมด ( All Dicotyledons Plants ) ยกเว้น 6 วงศ์ ที่ Dr. Paul รับผิดชอบ และ รับผิดชอบการศึกษาพืชชั้นต่ำไม่มีดอก ได้ แก่ พวก Gymnosperm และ Ferns. ส่วน ดร. อรรณพ จะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากผู้วิจัยทั้งสองคนที่กล่าวข้าง ต้น นำมาสร้างเป็นฐานข้อมูล และ จัดทำข้อมูลบางส่วนเป็น Homepage เพื่อแสดงผลการศึกษาออกสู่ ระบบ Internet รวมทั้งทำหน้าที่ประสานงานทั่วไปอื่น ๆ
ในปีที่ 2 ของการศึกษา ได้เปลี่ยนแปลงการแบ่งงานระหว่าง Dr. Paul กับ ดร. สมพงษ์ ในการเก็บตัว อย่างศึกษา เพื่อให้การศึกษามีความคล่องตัวมากขึ้น โดยให้แต่ละคนสามารถเก็บตัวอย่างพืชได้ทุกกลุ่ม และแจ้ง ให้อีกคนหนึ่งทราบ เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนขึ้น
16. ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยนี้ต้องการที่จะสำรวจเก็บรวบรวมพรรณไม้มีดอก (Angiosperms) ที่มีอยู่ในธรรมชาติทั้งหมดใน เขตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีขณะนี้ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 7,000 ไร่ ให้ได้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจะรวมพืชมีท่อลำเลียงอื่นอีก 2 กลุ่ม คือ ปรง (cycads) และเฟรินส์ (ferns) ด้วย
หลังจากการปรึกษาระหว่างผู้ร่วมวิจัยและพิจารณาร่วมกันแล้ว ได้ตกลงแบ่งพื้นที่ทั้งหมดของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีออกเป็น 8 เขต หรือ บริเวณ ( Zone ) โดยพยายามใช้เขตที่ทางมหาวิทยาลัยใช้อยู่ ให้มากที่สุด แต่รวมบางเขต และ แยกบางเขตออกเป็นหลายเขตเพื่อความเหมาะสมต่อการศึกษามากขึ้น โดยยึด แนวถนนที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นหลักในการแบ่งเขต ดังนี้ ( ดูแผนผัง ประกอบ )
1. เขตที่พักนักศึกษา ( Student Residential Zone )
2. เขตฟาร์ม มทส. ( University Farm Zone )
3. เขตที่พักบุคลากรและเขตสันทนาการ ( Staff Residential and Recreation Zone )
4. เขตอาคารทำการและสำนักงาน ( Academic Zone )
5. เขตเทคโนธานี ( Technopolis Zone )
6. เขตพื้นที่สีเขียวและเผื่อขยายในอนาคต ( Green and Reservation Zone )
7. เขตป่าอนุรักษ์ ( Plant Conservation Zone )
8. เขตไม้เศรฐกิจ ( Economic Tree Zone )
17. ระยะเวลาที่ทำการวิจัย :
3 ปี (ตุลาคม 2540 - กันยายน 2543)
19. สถานที่ทำการวิจัย และเก็บข้อมูล
การวิจัยส่วนใหญ่จะใช้ห้องวิจัยและห้องปฏิบัติการชีววิทยาพืชในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ยกเว้น การวินิจฉัยตัวอย่างบางส่วนที่อาจจะต้องเดินทางไปเปรียบเทียบที่หอพรรณไม้ของ กรมป่าไม้ ในกรุงเทพฯ หรือที่ ห้องเก็บตัวอย่างพรรณไม้ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทย บางตัวอย่างอาจจะต้องส่งไปตรวจวินิจฉัยยัง ต่างประเทศ
การเก็บข้อมูลทั้งหมดจะเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของคณะผู้วิจัยและของสาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี
20. อุปกรณ์ในการวิจัย
20.1 อุปกรณ์การวิจัยที่มีอยู่แล้ว
- กล้องถ่ายรูป - กล้องจุลทรรศน์เลนส์ประกอบ และกล้องจุลทรรศน์สามมิติพร้อมชุดถ่ายภาพ - ตู้เก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง และตู้แช่แข็ง (Freezer) - กรรไกรตัดกิ่งไม้ แผงอัดพรรณไม้แห้ง - ไมโครคอมพิวเตอร์ พร้อมเครื่องพิมพ์ - หนังสือ Flora of Thailand , Flora of Java และ Flora Malesiana บางส่วน
20.2 อุปกรณ์การวิจัยที่ต้องการเพิ่ม
- หนังสือ Flora of Java , Flora Malesiana และ Flora อื่น ๆ เพิ่มเติม
21. ผลการศึกษา
21.1 จัดเก็บตัวอย่างพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ให้ในรูปของตัวอย่างพรรณไม้แห้ง ( Herbarium ) ไว้ที่ห้องเก็บพรรณไม้แห้ง ของสาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้มากกว่า 222 ชนิด ( species ) และเก็บข้อมูลไว้ในระบบฐานข้อมูลของ Access file และ Excel file.
21.2 จากตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บได้ คาดว่ามีพรรณไม้ที่อาจจะเป็นชนิดพบใหม่ในประเทศไทย ( new species in Thailand ) หลายชนิด ตัวอย่างเช่น One species of Bauhinia (Fabaceae), one species of Curcuma (Zingiberaceae) , one or more species of Murdannia (Commelinaceae) . พืชบางชนิดเป็นพืชที่มีรายงานการ พบในประเทศไทยน้อยมาก เช่น Typhonium inopinatum (Araceae) เคยมีรายงานว่าเคยพบที่จังหวัดกาณจน บุรีเพียงแห่งเดียว ในประเทศไทย พืช Pterocaulon redolens (Asteraceae) มีตัวอย่างเก็บไว้ที่หอพรรณไม้ ของกรมป่าไม้ (BKF) เมื่อ 70 ปีก่อน เพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น พืช Cassine glauca (Celastraceae) มีตัว อย่างที่เก็บไว้ที่หอพรรณไม้ของกรมป่าไม้ เพียง 2 ตัวอย่างเท่านั้น และ เป็นตัวอย่างที่เก็บจากประเทศอินเดีย ยังไม่เคยมีตัวอย่างที่พบและเก็บจากในประเทศไทย ดังนั้นจะเห็นว่า งานจากโครงการวิจัยพรรณไม้ใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นี้ มีความสำคัญมาก ที่อาจจะทำให้มีการค้นพบพืชชนิดใหม่ของประเทศไทย หรือ ชนิดใหม่ของโลก ก็อาจจะเป็นไปได้
21.3 ตัวอย่างพรรณไม้ ที่มีการเก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง พร้อมการตรวจวินิจฉัยชื่อ ถ่ายรูป และ เขียนคำ บรรยายลักษณะ ( Descriptions ) เสร็จเรียบร้อยแล้วจะนำเสนอที่ Web site http://flora.sut.ac.th