ชื่อท้องถิ่น:
ชื่อพฤกษศาสตร์:
ตระกูล(วงศ์):
พบในเขตที่:
มะขาม
Tamarindus indica
L.
FABACEAE (CAESALPINIACEAE)
4
คำบรรยายลักษณะ :
ลักษณะพืช
ไม้ยืนต้น สูงถึง 20 เมตร ทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ เปลือกลำต้นมีร่องเล็กๆตามยาวลำต้น ต้นแก่สีน้ำตาล-ดำ
ใบ
ใบประกอบแบบ even-pinnate ก้านใบรวม rachis ยาว 4-12 ซม. เรียงตัวแบบสลับ โคนก้านใบ อ่อนมีหูใบ 1 คู่ สีเขียวอ่อนถึงสีม่วงแดง รูปขอบขนาน ปลายแหลม กว้าง 2-4 มม. ยาว 10-20 มม. หูใบร่วงก่อนใบจะ กางเต็มที่ ใบย่อยเรียงตัวแบบตรงข้าม จำนวน 5-12 คู่ ก้านใบย่อยยาว 2-5 มม. ใบย่อยรูปรูปขอบขนาน โคนใบมน หรือ oblique ปลายใบมนหรือมีติ่งแหลมเล็กๆ ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ กว้าง 3-8 มม. ยาว 8-15 มม.
ดอก
ดอกช่อ raceme เกิดที่ซอกใบและตามข้อกิ่ง ก้านดอกยาว 5-10 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 5-8 มม. โคนก้านดอกมี ใบประดับ 1 อัน สีเขียวแกมน้ำตาลถึงสีแดง รูปไข่ กว้าง 5-6 มม. ยาว 6-8 มม. ริ้วประดับร่วงเมื่อดอก บาน เส้นผ่าศูนย์กลางดอกบาน 2.5-3.5 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียวแกมเหลือง ติดกันเล็กน้อยที่ฐาน กลีบรูปไข่ ปลายแหลม กว้าง 4-7 มม. ยาว 10-14 มม. กลีบดอก 3 กลีบ สีส้มเหลืองมีลายเส้นสีแดง กลีบแยกกัน รูปไข่ ปลาย แหลม กลีบกว้าง 5-6 มม. ยาว 10-14 มม. ผิวกลีบเรียบ ขอบยกขึ้นเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 3 อัน ขนาดไม่เท่ากัน อันสั้น 1 อัน ความยาว 7-8 มม. อันยาว 2 อัน ความยาว 10-13 มม. อับเรณูสีขาว ก้านชูอับเรณูสีเขียวติดกันเป็นแผ่นแบน มี ร่องรอยของเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 7 อัน เป็นตุ่มยาว 0.5 มม. จำนวน 4 อัน เรียงสลับกับอันที่เป็นเส้นเล็กๆยาว6-8 มม.จำนวน 3 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ superior ovary สีเขียว รังไข่ ยาว 4-6 มม. มีก้านชูรังไข่ยาว 3-4 มม. ก้าน เกสรโค้งลง ยาว 3-4 มม ยอดเกสรเป็นตุ่มเล็กๆ
ผลและเมล็ด
ผลแห้งแบบ loment รูปทรงกระบอกหรือโค้งงอ ยาว 3-15 ซม.ผิวเรียบ เส้นผ่าศูนย์ กลางผล 1.5-2.5 ซม. เมล็ดประมาณ 1 - 15 เมล็ด สีดำหรือน้ำตาลค่อนข้างกลมหรือรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-10 มม.