ชื่อท้องถิ่น:
ชื่อพฤกษศาสตร์:
ตระกูล(วงศ์):
พบในเขตที่:
สลักป่า, ยอป่า (ยอป่าใบขน)
Morinda coreia
Ham.
RUBIACEAE
4
คำบรรยายลักษณะ :
ลักษณะพืช
ไม้พุ่มถึงไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร เปลือกหนา แตกเป็นร่องลึกตามยาวลำ ต้น ต้นแก่สีเทา-น้ำตาลแดง กิ่งอ่อนหน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมและมีขนปกคลุม
ใบ
ใบเดี่ยว เรียงตัวแบบตรงข้าม ก้านใบกลมยาว 1.5-2.5 ซม. มีหูใบร่วม (interstipule) 2 อัน รูป สามเหลี่ยม ฐานกว้าง 2-5 มม. ยาว 1.5-4 มม. ใบรูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน โคนใบเรียวแคบลงค่อนข้างแหลม หรือoblique ปลายใบกว้างหรือเรียวแคบลงและมีติ่งแหลม ขอบใบเรียบ ผิวหลังใบมีขนสากมือ ท้องใบขนนุ่มและ ยาวกว่าด้านหลังใบ ใบกว้าง 3-10 ซม. ยาว 8-20 ซม. กิ่งอ่อนและใบอ่อนมีขนนุ่มปกคลุมมากกว่าใบแก่ ใบแห้งสี ค่อนข้างดำ
ดอก
ดอกช่อ head เกิดที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 1-3 ซม. ฐานรองดอกอวบอ้วนเป็นรูป ทรงกลม ผิวนอกของฐานรองดอกเป็นส่วนรังไข่ของดอกย่อยที่เชื่อมติดกันเป็นก้อนกลมหรือรี เส้นผ่าศูนย์กลางฐาน รองดอก 7-10 มม. ดอกย่อยไม่มีก้านดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวแกมขาว ติดกันเป็นรูปถ้วย ยาว 0.5-1 มม. กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ติดกันเป็นหลอดยาว 10-15 มม. ตอนปลายแยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกกว้าง 2-3.5 มม. ยาว 7- 9 มม. ปลายแหลม ขอบเรียบ เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดบนหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูสั้นกว่าหลอดกลีบดอก เกสร เพศเมีย 1 อัน รังไข่ inferior ovary สีเขียว ก้านเกสรยาว 15-18 มม. ยาวพ้นหลอดกลีบดอก ยอดเกสรเป็นเส้น 2 แฉก แต่ละแฉกยาว 2-4 มม. รังไข่ 2 ห้อง ออวุลห้องละ 1
ผลและเมล็ด
ผลสดแบบ drupe เชื่อมติดกันเป็นผลรวมที่มีเนื้อสด ผิวนอกขรุขระ เป็นปุ่มปม รูปยาวรี กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 2-5 ซม. เมล็ดจำนวนมากรูปยาวบิดเบี้ยว