School of Chemistry at Suranaree University of Technology

อาจารย์จากหน่วยวิจัยชีวเคมี-เคมีไฟฟ้า มทส. ตีพิมพ์ผลงานวิชาการในรูป review article ในวารสาร Chemical Reviews

ขอแสดงความยินดีกับรองศาสตราจารย์ดร. วิภา สุจินต์ อาจารย์ ดร. พนิดา ขันแก้วหล้า และ รองศาสตราจารย์ ดร.  Albert Schulte อาจารย์จากหน่วยวิจัยชีวเคมี-เคมีไฟฟ้าสาขาวิชาเคมีและชีวเคมีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ที่ตีพิมพ์ผลงานวิชาการในรูปreview article เรื่อง ‘Electrochemical BiosensorApplications of Polysaccharides Chitin and Chitosan’ ในวารสาร Chemical Reviews ที่มีค่าดัชนีผลกระทบปี 2011เท่ากับ 40.197 และมีค่าการอ้างอิงสูงที่สุดในวารสารกลุ่มวิชาเคมีสนใจโปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://pubs.acs.org/doi/full/10.1021/cr300325r

 

 

Congratulations to Associate Professor Dr.Wipa Suginta, Dr. Panida Khunkaewla, and Associate Professor Dr. Albert Schulte from the Biochemistry-Electrochemistry Research Unit, Schools of Chemistryand Biochemistry, Institute of Science.Their review article entitled ‘Electrochemical BiosensorApplications of Polysaccharides Chitin and Chitosan’ has been published in Chemical Reviews. With an impact factor 2011 of 40.197, Chemical Reviews is the most highly-cited journal in all areas of Chemistry. For more information please see http://pubs.acs.org/doi/full/10.1021/cr300325r

 


อนึ่ง ไคติน-ไคโตซานเป็นวัสดุชีวภาพที่มีคุณสมบัติที่โดดเด่นคือมีความเข้ากันได้ ทางชีวภาพสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ไม่มีพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมดังนั้นจึงมีการนำสารไคติน-ไคโตซานมา ประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เช่นด้านการแพทย์และเภสัชกรรม ใช้เป็นวัสดุตกแต่งแผลและวัสดุทางทันตกรรม  และควบคุมการปลดปล่อยของยา ด้านการเกษตร  ใช้เคลือบเมล็ดพันธุ์พืชและเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชด้าน อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและความงาม ใช้เป็นสารเติมแต่งในแป้งทาหน้า  แชมพู สบู่  และครีมทาผิว ด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอใช้ผลิตเส้นใยนาโนที่ระบายเหงื่อได้ดีและสามารถยับยั้ง การเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ใช้เป็นเป็นแผ่นเมมเบรนเพื่อกรองและบำบัดน้ำเสียในหัวข้อวิจัยที่ได้รับการ ตีพิมพ์นี้ได้รวบรวมงานวิจัยทั้งหมดกว่า
300 เรื่อง ที่ครอบคลุมคุณสมบัติที่สำคัญของการประยุกต์ใช้สารไคตินและไคโตซานเป็นวัสดุ นาโนช่วยในการตรึงผิวอิเลคโทรดเพื่อการตรวจหาสารชีวโมเลกุลชนิดต่างๆ ที่มีความสำคัญในทางการแพทย์ เช่น สารพันธุกรรม (DNA biosensor) สารตัวบ่งชี้โรคมะเร็งและโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน (immunosensor) และสารเมทาบอไลท์ที่เกิดจากระดับที่ผิดปกติของเอนไซม์(enzyme biosensor)